วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

organizational structure

การจัดโครงสร้างองค์การ
ความหมายและความสำคัญของการจัดโครงสร้างองค์การ
องค์การ หมายถึง รูปแบบของโครงสร้างที่จัดตั้งตามหลักและวิธีการ
ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคล หรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน
เพื่อดำเนินกิจกรรมใดๆ ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายร่วมกันไว้

การจัดโครงสร้างองค์การ หมายถึง
1. การจัดระเบียบกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้อง
และเป็นระบบเพื่อความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ คนที่เชี่ยวชาญ
แต่ละฝ่าย มีการประสานให้ความร่วมมือ
2. กระบวนการในการพัฒนาและการปฏิบัติตามโครงสร้าง องค์การ
ที่เหมาะสม เป็นกระบวนการ ที่เกี่ยวข้องกับชุดของการตัดสินใจ
ซึ่งดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




**organization chart แสดงให้เห็นถึง สายการบังคับบัญชา
สายการบังคับบัญชา (Chain of Command)
สายการบังคับบัญชา ก็คือ สายแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาการยึดถือ
ปฏิบัติตามสายการบังคับบัญชาจะก่อให้เกิดประโยชน์คือ ไม่ทำให้ฐานะของ
ผู้บริหารต้องเสียไปและในขณะเดียวกัน ก่อจะก่อให้เกิดความสับสนแก่คนงาน
ผู้ใต้บังคับบัญชาต่าง ๆ เกิดความลำบากใจเสมอ ถ้าหากมีการละเลยไม่ปฏิบัติตาม
สายการบังคับบัญชาโดยมีการติดต่อหรือ สั่งข้ามขั้นมักจะทำให้ผิดต่อหลักของการ
มีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวได้เสมอ








แหล่งอ้างอิง
www.igc-ir.com/organization-chart.html
www.gtfairport.com/.../organizational_chart.html

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ช่องทางการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ

วิธีการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
วิธีการในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศนั้น ผู้บริหารสามารถเลือกได้โดยคำนึงถึง
ปัจจัยด้าน การควบคุมเหนือกิจกรรมงานในธุรกิจต่างประเทศนั้นว่า ต้องควบคุม
มากน้อยแค่ไหน ระดับ และรูปแบบความเป็นเจ้าของกิจการ แรงกดดันด้านต้นทุน
และปัจจัยเรื่องความสามารถหลัก (Core Competency) ที่องค์การ
ต้องควบคุมหรือรักษาไว้เป็นความลับ
1. การส่งออก (Exporting)
การส่งออกมักจะเป็นวิธีเริ่มต้นของผ็ประกอบการธุรกิจในต่างประเทศ แต่วิธี
นี้จะมีข้อด้อยคือ มีค่าขนส่งสูงและอาจถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้า
รวมทั้งอาจเป็นปัญหาที่ ตัวแทนจำหน่ายไม่ได้ดูแลสินค้าได้อย่างกิจการต้องการ
2. การให้สิทธิบัตร (Licensing)
เป็นกรณีที่ผู้ประกอบการ ขายสิทธิให้แก่ผู้ผลิตในตลาดท้องถิ่น ทำการผลิต
สินค้าตามรูปแบบและข้อกำหนดของเจ้าของสิทธิบัตร โดยต้องจ่ายค่า
ธรรมเนียมให้แก่เจ้าของสิทธิในเรื่องต่างๆตามที่ตกลง วิธีการนี้ เจ้าของสิทธิ
จะลดความเสี่ยงในการลงทุนและการบุกตลาดลงได้ แต่มีความเสี่ยงที่ผู้รับ
สิทธิอาจทำการลอกเลียนแบบ แล้วไปผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงได้
3. การให้สัมปทาน (Franchising)
แนวคิดนี้จะคล้ายคลึงกับการให้สิทธิบัตร แต่การให้สัมปทานจะมีการควบคุม
ที่เข้มงวดมากกว่าเพราะการให้สัมปทานมักใช้กรณีอุตสาหกรรทการให้บริการ
เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ซ่อมรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งถ้าผู้รับสัมปทาน
ไม่บริหารจัดการให้ดีแล้ว ชื่อเสียงของผู้ให้สัมปทานก็จะเสียหายไปด้วย
4. การ่วมทุน ( Joint Venture)
เป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ โดยการหาผู้ร่วมทุน หรือ
หุ้นส่วนที่เป็นคนในท้องถิ่น วิธีนี้จะได้ผลดี ถ้าระบุข้อตกลงหรือสัญญาระบุ
เงื่อนไขและแนวปฏิบัติต่างๆให้ชัดเจนตั้งแต่ตอนเริ่มงานกัน มิฉะนั้นจะเกิด
ความขัดแย้ง และความเสี่ยงที่ผู้ร่วมทุนอาจทำการลอกเลียนแบบแล้วไปผลิต
สินค้าที่คล้ายคลึงมาแข่ง
5. การซื้อหรือครอบครองกิจการ (Take over and acquisition)
ผู้ประกอบการอาจใช้วิธีซื้อกิจการทำนองเดียวกันกับของตน เป็นกิจการใน
ตลาดประเทศเพื่อใช้เป็นช่องทางในการขยายธุรกิจต่อไป
6. การตั้งบริษัทย่อยในต่างประเทศ (Wholly Owned Subsidiary)
วิธีการนี้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจาก
เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด แต่ก็เป็นภาระทางการเงินและยังต้องรับภาระความเสี่ยง
ต่างๆด้วยตนเองทั้งหมดด้วย แต่ก็รักษาความลับทางการค้าไว้ได้ และไม่ต้อง
แบ่งผลกำไรกับใคร

เครื่องมือในการวิเคราะห์ : Five Forces Model

แนวทางการวิเคราะห์ของ Michael E. Porter มีดังนี้
1. อุปสรรคกีดขวางการเข้าสู่อุตสาหกรรม จะได้แก่
- การประหยัดจากขนาด (Economies of scale) เนื่องจากผลิต
สินค้าที่เป็นมาตรฐาน จำนวนมาก ซึ่งทำให้ต้นทุนของสินค้าลดต่ำลง เพราะ
สามารถลดต้นทุนคงที่ต่อหน่วยลดลง
- การผูกพันในตรายี่ห้อ (Brand Loyalty)
- เงินลงทุน (Capital requirements) ถ้าต้องลงทุนสูง ก็จะเป็น
อุปสรรคต่อรายใหม่
- การเข้าถึงช่องจัดจำหน่าย (Access to distribution)
- นโยบายของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายส่งเสริม หรือมีข้อห้ามสัมปทาน
- ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้า (Switching cost)
ถ้าลูกค้าต้องมีต้นทุน หรือค้าใช้จ่ายในส่วนนี้สูง ต้นทุนเหล่านี้ซึ่งอาจได้แก่
ต้นทุนของอุปกรณ์เครื่องจักรที่ต้องปรับเปลี่ยนเพิ่มหรืออาจจะเป็นระบบงาน
ที่ต้องจัดรูปแบบใหม่ ค่าฝึกอบรมแลสอนงาน
ให้กับพนักงานเพื่อให้ทำงานตามระบบใหม่เป็นต้น
- ข้อได้เปรียบต้นทุนในด้านอื่นๆ เช่น เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเฉพาะ มีวัตถุดิบ
ราคาถูก มีทำเลที่ตั้งดีกว่า มีแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนถูก และทำมานนานจนเกิด
การเรียนรู้

2. แรงผลักดันจากผู้ผลิตหรือคู่แข่งที่มีในอุตสาหกรรม
- จำนวนคู่แข่งขัน ถ้าคู่แข่งขันมีจำวนมาก หรือ มีขีดความสามารถพอๆกัน
จะทำให้มีการแข่งขันที่รุนแรง
- อัตราการเติบโตของอตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมยังคงเติบโต การแข่งขัน
จะไม่รุนแรงมากนัก
- ความแตกต่างของสินค้า ถ้าสินค้ามีความแตกต่างกันไป การแข่งขันก็จะ
น้อยลง
- ความผูกพันในตรายี่ห้อ
- กำลังการผลิตส่วนเกิน ถ้าอตสาหกรรมมีกำลังผลิตส่วนเกิน การแข่งขัน
จะรุนแรง
- ต้นทุนคงที่ของธุรกิจ และต้นทุนในการก็บรักษา
- อุปสรรคกีดขวางการออกจากอุตสาหกรรม เช่น ข้อตกลงกับสหภาพ
แรงงานในการจ่ายชดเชยที่สูงมาก

3. อำนาจต่อรองของผู้ขาย (ซัพพลายเออร์)
- จำนวนผู้ขายหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ ถ้ามีผู้ขายน้อยราย อำนาจต่อรองของ
ผู้ขายจะสูง
- ระดับการรวมตัวกันของผู้ขายวัตถุดิบ ถ้าผู้ขายรวมตัวกันได้ อำนาจ
การต่อรองก็จะสูง
- จำวนวัตถุดิบหรือแหล่งวัตถุดิบที่มี ถ้าวัตถุดิบมีน้อย อำนาจต่อรองจะสูง
- ความแตกต่างและเหมือนกันของวัตถุดิบ ถ้าวัตถุดิบมีความแตกต่างกันมาก
อำนาจต่อรองผู้ขายจะสูง

4. อำนาจการต่อรองของกลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้า
- ปริมาณการซื้อ ถ้าซื้อมาก ก็มีอำนาจการต่อรองสูง
- ข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าได้รับเกียวกับสินค้าและผู้ขาย ถ้าลูกค้ามีข้อมูลมาก
ก็ต่อรองได้มาก
- ความจงรักภักดีต่อยี่ห้อ
- ความยากง่ายในการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ซื้อ ถ้าลูกค้ารวมวตัวกันง่าย
ก็มีอำนาจต่อรองสูง
- ความสามารถของผู้ซื้อที่จะมีการรวมกิจการไปดานหลัง คือ ถ้าลูกค้า
สามารถผลิตสินค้าได้ด้วยตนเอง อำนาจการต่อรองก็จะสูง
- ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคนอื่ร หรือ ใช้สินค้าของคู่แข่ง
แล้วลูกค้าต้องมีต้นทุนในการเปลี่ยนสูง อำนาจการต่อรองของลูกค้าก็จะต่ำ

5. แรงผลักดันซึ่งเกิดจากสินค้าอื่นๆซึ่งสามารถใช้ทดแทนได้
- ระดับการทดแทน เป็นการทดแทนได้มาก หรือทดแทนได้น้อยแค่ไหน
เช่น เครื่องปรับอากาศกับพัดลม
- ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้าปัจจุบัน ไปสู่การ
ใช้สินค้าทดแทน
- ระดับราคาสินค้าทดแทนและคุณสมบัติใช้งานของสินค้าทดแทน



ที่มา : การบริหารเชิงกลยุทธ์ แนวคิดและทฤษฎี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพานี สฤษฎ์วานิช
คณะ พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
ภาพจาก: blog.macroart.net/2008/01/digital-distributio...